การพัฒนาทางดิจิทัลนั้นกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้การทำงานและใช้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) นั้นยังคงเป็นที่น่ากังวลและยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ซึ่งทุกองค์กรล้วนต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น Cyber Security จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ในปี 2025 นี้ Cyber Security Trend ใหม่ ๆ ก็ได้เกิดขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด

เทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญในปี 2025 นั้นเป็นอย่างไร มีโซลูชัน เทคโนโลยี หรือความท้าทายใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน มาร่วมค้นพบไปด้วยกันในบทความนี้ เพื่อช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10 Cyber Security Trends น่าสนใจในปี 2025

1. AI และ Machine Learning ปฏิวัติวงการความปลอดภัยไซเบอร์
เทรนด์มาแรงอันดับแรกคงหนีไม่พ้น AI และ Machine Learning ที่กำลังเปลี่ยนโฉมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างสิ้นเชิง โดยในปี 2025 เทคโนโลยี AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการวิเคราะห์และตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วกว่าเดิม
ระบบ AI สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยให้ระบบรักษาความปลอดภัยสามารถตรวจจับรูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติและแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนการโจมตีจะเกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ Machine Learning ยังช่วยให้ระบบสามารถปรับตัวและเรียนรู้จากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกัน กลุ่มแฮกเกอร์และมิจฉาชีพผู้ไม่หวังดีก็ได้นำ AI มาใช้งานมากขึ้นเช่นกัน อย่างการโจมตีด้วยมัลแวร์ที่มี AI ที่สามารถปรับตัวเพื่อหลบหลีกการตรวจจับจากระบบรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิม ถือเป็นความท้าทายใหม่ที่องค์กรต้องเตรียมพร้อมรับมือ
2. Zero Trust Security Model ที่ไม่เชื่อใจใครทั้งสิ้น
แนวคิด Zero Trust Security Model กำลังกลายเป็นหนึ่งใน Cyber Security Trend ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปี 2025 ซึ่งแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ไม่มีบุคคล อุปกรณ์ หรือระบบใดที่ควรได้รับความไว้วางใจโดยอัตโนมัติ แม้จะอยู่ภายในเครือข่ายองค์กรก็ตาม ดังนั้นทุกการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลจะต้องได้รับการยืนยันตัวตนและสิทธิ์อย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะมาจากภายในหรือภายนอกองค์กร ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีที่อาศัยช่องโหว่ของระบบเครือข่ายภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความท้าทายจากการพัฒนาของ Quantum Computing
Quantum Computing ถือเป็นดาบสองคมในแง่ของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในขณะที่เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีคุณสมบัติในการเจาะการเข้ารหัสแบบดั้งเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน
ในปี 2025 องค์กรอาจต้องเริ่มพิจารณาการใช้การเข้ารหัสแบบ Post-Quantum Cryptography (PQC) เพื่อป้องกันข้อมูลจากการถูกถอดรหัสโดยคอมพิวเตอร์ควอนตัม แม้ว่าในปัจจุบัน ภัยคุกคามจาก Quantum Computing ยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม แต่การเตรียมพร้อมล่วงหน้าถือเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
4. ภัยคุกคามจาก IoT (Internet of Things)
การเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ IoT ในระบบเครือข่ายองค์กรจะเป็นความท้าทายด้านความปลอดภัยที่สำคัญ โดยอุปกรณ์ IoT จำนวนมากมักขาดมาตรการความปลอดภัยที่เพียงพอ ทำให้กลายเป็นช่องโหว่สำคัญที่แฮกเกอร์สามารถใช้เพื่อเข้าถึงระบบเครือข่ายขององค์กรได้ พูดได้ว่า การจัดการความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT จะเป็นหนึ่งในความท้าทายสำหรับทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยองค์กรจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ IoT อย่างเข้มงวด ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น Endpoint Detection and Response (EDR) , Next-Generation Firewall และ Secure Web Gateway ที่ช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมและตรวจสอบอุปกรณ์ IoT ในเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ (Cloud Security)
เมื่อองค์กรต่าง ๆ มีการย้ายระบบและข้อมูลไปยังคลาวด์มากขึ้น Cloud Security จะกลายเป็นประเด็นสำคัญในปี 2025 ซึ่งการใช้บริการ Cloud Computing Hybrid ที่ผสมผสานระหว่างคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) และคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) อาจมีความซับซ้อนในการจัดการความปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์จึงต้องครอบคลุมหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารหัสข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
โดยควรเลือกใช้บริการคลาวด์ที่มีมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่รัดกุม หรืออาจติดตั้ง ไฟร์วอลล์ (Firewall) หรือ Next-Generation Firewall (NGFW) ที่ครอบคลุมการป้องกันภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ต
6. การเพิ่มขึ้นของ Ransomware-as-a-Service (RaaS)
Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ยังคงเป็นภัยคุกคามที่อันตรายและแพร่หลาย อีกทั้งยังสามารถสร้างความเสียหายทางการเงินได้ในจำนวนมหาศาล โดยในปี 2025 Ransomware-as-a-Service (RaaS) หรือการให้บริการมัลแวร์เรียกค่าไถ่นั้นมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงขึ้น ทำให้แม้แต่ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านเทคนิคมากนักก็สามารถก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ได้
การโจมตีด้วย Ransomware ไม่เพียงแค่เข้ารหัสข้อมูลและเรียกค่าไถ่เท่านั้น แต่ยังมีการขโมยข้อมูลสำคัญและขู่ว่าจะเปิดเผยหากไม่จ่ายค่าไถ่ที่สร้างความเสียหายต่อองค์กรมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรต้องลงทุนในโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สามารถกำกับดูแลและป้องกัน Ransomware ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ MDR ที่ช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย รวมไปถึงโซลูชัน Data Loss Prevention (DLP) ที่ช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
7. การฉ้อโกงด้วยการใช้ Deepfake และภัยคุกคามจากสื่อปลอม
เทคโนโลยี Deepfake จาก AI ได้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปลอมแปลงภาพวิดีโอที่อ้างอิงบุคคลที่มีอำนาจ มีชื่อเสียง หรือเจ้าหน้าที่ เพื่อหลอกลวงให้เหยื่อดำเนินธุรกรรมทางการเงิน แน่นอนว่าสื่อปลอมแปลงเหล่านี้สามารถใช้ในการฉ้อโกง การแอบอ้างตัวตน หรือการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเพื่อทำลายชื่อเสียง ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการยืนยันตัวตนที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงฝึกอบรมพนักงานให้รู้เท่าทันกลลวงรูปแบบนี้
8. การโจมตีระบบอัตโนมัติและภัยคุกคามต่อระบบควบคุมอุตสาหกรรม
การโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่ระบบอัตโนมัติ (Automation) และระบบควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems: ICS) มีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงมากขึ้น ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้มีความอันตรายสูง เนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา หรือเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการผลิต และทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักเป็นการชั่วคราว ซึ่งเป็นการสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาล โดยการรักษาความปลอดภัยของระบบอัตโนมัติ ต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความปลอดภัยทางกายภาพ เพื่อป้องกันการเข้าถึงและการควบคุมระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างครอบคลุมมากที่สุด
กลยุทธ์การป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์สำหรับองค์กรในปี 2025

เมื่อรู้ถึงเทรนด์ของ Cyber Security ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเป็นที่น่าจับตามองในปี 2025นี้ องค์กรควรมีกลยุทธ์การป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่ครอบคลุมร่วมด้วย
1. ลงทุนในเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ทันสมัย
องค์กรควรจัดสรรงบประมาณสำหรับการลงทุนในเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ทันสมัยอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้ารหัสข้อมูล ระบบตรวจจับภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI และโซลูชันความปลอดภัยอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร
2. ฝึกอบรมพนักงานในทุกระดับ
การสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับพนักงานในทุกระดับเป็นสิ่งสำคัญ โดยพนักงานควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการระบุและรายงานภัยคุกคามต่าง ๆ เช่น การฟิชชิง ( Phishing ) การโจมตีทางสังคม (Social Engineering) รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้ในการสังเกตเห็นพฤติกรรมของสื่อปลอมจาก Deepfake ได้
3. วางแผนรับมือเหตุการณ์
องค์กรควรมีแผนรับมือเหตุการณ์ (Incident Response Plan) ที่ชัดเจน เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยภายในแผนนี้ควรระบุขั้นตอนและลำดับการดำเนินงานที่ชัดเจนในการจัดการกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยต่าง ๆ รวมถึงผู้รับผิดชอบและช่องทางการติดต่อสื่อสาร
4. นำแนวคิด Zero Trust มาใช้ภายในองค์กร
องค์กรควรพิจารณาการนำแนวคิด Zero Trust มาใช้เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการเข้าถึงระบบและข้อมูล โดยไม่เชื่อใจใครโดยอัตโนมัติ แม้แต่ผู้ใช้งานภายในองค์กรเอง อีกทั้งทำการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ หรือฐานข้อมูลต่าง ๆ โดยมอบสิทธิ์การเข้าถึงเฉพาะในส่วนที่พนักงานหรือบุคลากรรายนั้น ๆ จำเป็นต้องใช้ในการทำงานเท่านั้น
5. ประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
องค์กรควรมีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อระบุช่องโหว่และจุดอ่อนของเครือข่ายที่อาจถูกใช้เป็นช่องทางในการโจมตี และดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะถูกใช้ประโยชน์โดยแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดี
พูดได้ว่าในปี 2025 นี้ บทบาทของ Cyber Security นั้นมีความสำคัญมากยิ่งกว่าเดิม ขณะที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็มีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน การติดตาม Cyber Security Trend อย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับใช้เทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่เหมาะสม และเลือกใช้โซลูชันความปลอดภัยที่ทันสมัยจากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ จะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคตได้อย่างมั่นใจ
การเลือกใช้โซลูชันความปลอดภัยที่ทันสมัยจากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถืออย่าง Sangfor Technologies ร่วมกับการมีกลยุทธ์การป้องกันที่ครอบคลุม จะช่วยให้องค์กรสามารถปกป้องข้อมูลและระบบที่สำคัญจากภัยคุกคามที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ การให้ความสำคัญกับ Cyber Security ไม่ใช่เพียงการลงทุนเพื่อป้องกันความเสียหายเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจในยุคดิจิทัลที่ความปลอดภัยและความไว้วางใจเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ
สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก Sangfor ได้ที่ www.sangfor.com หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราวันนี้เพื่อขอรับคำปรึกษาและวางแผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ ปกป้องธุรกิจของคุณให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามในปี 2025