IoT หรือ Internet of Things เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับอินเทอร์เน็ต ทำให้ธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Internet of Things คืออะไร? รู้จักเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจสู่ดิจิทัล

Internet of Things คืออะไร?

Internet of Things หรือ “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” หมายถึงเครือข่ายของอุปกรณ์ทางกายภาพ (เช่น เซนเซอร์ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งของอื่น ๆ) ที่ฝังหรือติดตั้งด้วยเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบและอุปกรณ์อื่น ๆ

โดยแนวคิดของ Internet of Things เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี 1999 โดย Kevin Ashton นักวิจัยจาก MIT ผู้คิดค้นวิธีการเชื่อมโยงวัตถุกับอินเทอร์เน็ตผ่านแท็ก RFID นับจากนั้น IoT ได้พัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันมีอุปกรณ์ IoT มากกว่าจำนวนมนุษย์บนโลกนี้เสียอีก

การทำงานของ Internet of Things

โดยทั่วไประบบ IoT ทำงานผ่านองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ดังนี้

  1. อุปกรณ์อัจฉริยะ - อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการประมวลผล โดยรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมและสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
  2. แอปพลิเคชัน IoT - ซอฟต์แวร์และบริการที่ประมวลผลข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT โดยใช้เทคโนโลยี Machine Learning หรือ AI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
  3. ส่วนติดต่อผู้ใช้ - เช่น แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือเว็บไซต์ที่ใช้ในการควบคุมและจัดการอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ

ทั้งนี้ วงจรการทำงานของ IoT เริ่มจากอุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ตรวจจับข้อมูลจากสภาพแวดล้อม แล้วส่งข้อมูลไปยังระบบประมวลผลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากนั้นระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลและตอบสนองโดยอัตโนมัติ หรือส่งคำสั่งกลับไปยังอุปกรณ์

รูปแบบของอุปกรณ์ IoT

ปัจจุบัน Internet of Things ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคครัวเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งตอบโจทย์จุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไปในแต่ละสภาพแวดล้อม เช่น

อุปกรณ์ IoT สำหรับบ้านอัจฉริยะ (Smart Home)

  • เครื่องปรับอากาศอัจฉริยะที่ปรับอุณหภูมิอัตโนมัติ
  • กล้องรักษาความปลอดภัยที่ส่งการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันเมื่อตรวจพบความเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี พัดลม หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ที่สามารถควบคุมได้ผ่านสมาร์ทโฟน

อุปกรณ์ IoT สำหรับอุตสาหกรรม (Industrial Internet of Things: IIoT)

  • เซนเซอร์ในเครื่องจักรที่คอยมอนิเตอร์สถานะการทำงาน และตรวจจับการทำงานที่ผิดปกติ
  • ระบบติดตามสถานะสิ่งของ พัสดุ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ในโรงงาน
  • เครื่องมือวิเคราะห์การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์

อุปกรณ์ IoT สำหรับเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

  • ไฟจราจรอัจฉริยะที่ปรับระดับความสว่างตามสภาพแวดล้อม
  • ระบบติดตามคุณภาพอากาศและมลพิษ
  • การจัดการจราจรและที่จอดรถอัจฉริยะ

อุปกรณ์ IoT สำหรับการดูแลสุขภาพ

  • อุปกรณ์สวมใส่ที่ติดตามสัญญาณชีพ เช่น สมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) หรือแหวนอัจฉริยะ (Smart Ring)
  • ระบบหรือแอปพลิเคชันสำหรับติดตามการใช้ยาสำหรับผู้ป่วย
  • อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ส่งข้อมูลโดยตรงไปยังแพทย์

IoT เหมาะกับใครบ้าง?

จากที่กล่าวถึงรูปแบบของอุปกรณ์ IoT ข้างต้น จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ IoT นั้นสามารถเข้ามาช่วยให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ นั้นมีความสะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนำระบบหรืออุปกรณ์ Internet of Things มาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายองค์กรและอุตสาหกรรม

1. ธุรกิจการผลิต

IoT สามารถเชื่อมต่อทุกขั้นตอนของกระบวนการอุตสาหกรรม ตั้งแต่ห่วงโซ่อุปทานไปจนถึงการจัดส่ง ช่วยให้มองเห็นกระบวนการผลิตและข้อมูลผลิตภัณฑ์ในแบบวงกว้างได้ชัดเจน นอกจากนี้ เซนเซอร์ IoT ในเครื่องจักรโรงงานหรือชั้นวางคลังสินค้า ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการสร้างแบบจำลองการคาดการณ์ ยังช่วยป้องกันข้อบกพร่องและการหยุดทำงานกะทันหัน เพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา และเพิ่มผลผลิตในระยะยาว

2. ธุรกิจค้าปลีก

ระบบ IoT ช่วยรวมข้อมูลการวิเคราะห์และกระบวนการทางการตลาดข้ามสถานที่ โดยผู้ค้าปลีกสามารถเก็บข้อมูล IoT จากทั้งหน้าร้านและช่องทางดิจิทัล เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้า อีกทั้งยังใช้อุปกรณ์ IoT เช่น ชิปติดตามสินค้าคงคลัง RFID ระบบเซลลูลาร์ และบีคอน Wi-Fi เพื่อติดตามสถานะสินค้าได้อีกด้วย

3. ธุรกิจด้านการแพทย์และสุขภาพ

เทคโนโลยี IoT ช่วยรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์จากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อมต่อ เช่น อุปกรณ์สวมใส่ที่ตรวจสอบสุขภาพ หรืออุปกรณ์ตรวจสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้การวินิจฉัยและวางแผนรักษาแม่นยำยิ่งขึ้น เพิ่มความปลอดภัยและผลลัพธ์การรักษาของคนไข้

4. ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์

ระบบ Internet of Things ในทุกวันนี้มักมาพร้อมระบบระบุตำแหน่ง และเทคโนโลยี AI ช่วยติดตามและจัดการยานพาหนะขนส่ง รวมถึงพัสดุและสินค้า ธุรกิจจึงสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการ เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และลดต้นทุนการดำเนินงาน

5. ภาครัฐและเมืองอัจฉริยะ

IoT ช่วยแก้ไขปัญหาในเมืองได้หลายด้าน เช่น การจราจรติดขัด การบริการในเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และความปลอดภัยสาธารณะ

6. อุตสาหกรรมพลังงาน

Internet of Things ช่วยให้ผู้ให้บริการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือและมีราคาที่สมเหตุสมผล โดยอุปกรณ์ IoT สามารถช่วยให้ธุรกิจคาดเดาถึงปัญหาหรืออุปสรรคก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง และช่วยปรับปรุงการใช้พลังงานจากแหล่งกระจายตัว เช่น ระบบโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานจากลม (กังหันลม)

ความท้าทายและข้อควรระวังในการใช้ IoT

แม้ IoT จะมีประโยชน์มากมาย อย่างไรก็ตาม ในการนำ Internet of Things มาใช้งานจริง ธุรกิจควรพิจารณาความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น เช่น

Internet of Things คืออะไร? รู้จักเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจสู่ดิจิทัล

1. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)

การเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตส่งผลให้พื้นที่ที่อาจถูกโจมตี (Attack Surface) มีมากขึ้น จึงมีโอกาสที่แฮกเกอร์และมิจฉาชีพจะพยายามเจาะระบบเพื่อขโมยข้อมูลหรือทรัพย์สิน โดยองค์กรควรคำนึงถึงมาตรการและระบบการป้องกันอุปกรณ์ IoT จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น Ransomware การหลอกลวงด้วยฟิชชิง (Phishing) และการละเมิดข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ

2. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

อุปกรณ์ IoT มักเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากและมีการสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นตลอดเวลา ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ดังนั้น องค์กรต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และนำระบบความปลอดภัยอย่างโซลูชัน Data Loss Prevention มาใช้งานเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

3. ความซับซ้อนในการบูรณาการ

การบูรณาการหรือผสานระบบอุปกรณ์ IoT เข้ากับระบบของธุรกิจอาจมีความซับซ้อน หรือไม่สามารถเข้ากันได้ในบางระบบ โดยเฉพาะในองค์กรที่ใช้งานเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ

4. การจัดการและการควบคุมอุปกรณ์จำนวนมาก

ภายในองค์กรอาจมีอุปกรณ์ IoT จำนวนนับพันหรือนับหมื่นชิ้น ซึ่งอาจอยากต่อการจัดการ แน่นอนว่าธุรกิจต้องจัดวางระบบการจัดการและควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ IoT

ปัจจุบันอุปกรณ์ IoT ถูกพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นให้สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

  • การประมวลผลแบบ Edge Computing - การประมวลผลข้อมูลใกล้กับแหล่งกำเนิดข้อมูล ช่วยลดความล่าช้าและปรับปรุงการตอบสนอง
  • Cloud Computing - เทคโนโลยี Cloud Computing ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลระยะไกลและการจัดการอุปกรณ์ IoT
  • Big Data Analytics - IoT เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
  • AI และ Machine Learning - AI และ Machine Learning สามารถเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก IoT และการตัดสินใจอัตโนมัติ

Internet of Things กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ดิจิทัลของธุรกิจทั่วโลก ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาด ระบบ IoT ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และปรับปรุงการบำรุงรักษา แต่ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จาก IoT อย่างเต็มที่จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานและความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง โซลูชันความปลอดภัยครบวงจรสามารถช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การลงทุนใน IoT ไม่ใช่เพียงทางเลือก แต่เป็นความจำเป็นสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตและรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

โซลูชันของ Sangfor ที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อความปลอดภัยของ IoT

Sangfor Technologies เป็นผู้นำระดับโลกในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Cloud Computing Hybrid และโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที พร้อมมอบโซลูชันที่ปลอดภัย เพื่อสนับสนุนให้การใช้งาน IoT ในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. โครงสร้างพื้นฐานแบบ Hyper-Converged (HCI)

โซลูชัน Hyper-Converged Infrastructure ของ Sangfor มอบแพลตฟอร์มที่มั่นคงและยืดหยุ่นสำหรับการรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล IoT จำนวนมาก ช่วยให้องค์กรจัดการกับปริมาณข้อมูลมหาศาลจากอุปกรณ์ IoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ IoT

อุปกรณ์ IoT เป็นจุดเปราะบางที่อาจถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้ Sangfor นำเสนอโซลูชันความปลอดภัยครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น

  • Next-Generation Firewall (NGFW) ที่ป้องกันการโจมตีจากภายนอก
  • Endpoint Detection and Response (EDR) สำหรับป้องกันอุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์ปลายทางต่าง ๆ
  • Secure Web Gateway (SWG) สำหรับควบคุมการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย
  • โซลูชัน Network Detection & Response (NDR) และ Extended Detection & Response (XDR) เพื่อตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว

3. Secure Access Service Edge (SASE)

โซลูชัน SASE ของ Sangfor รวมความปลอดภัยเครือข่ายและการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับองค์กรที่มีอุปกรณ์ IoT กระจายตัวในหลายพื้นที่ ช่วยให้มั่นใจว่าการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT และระบบหลักมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้

4. บริการ Managed Detection & Response (MDR)

ด้วยบริการ MDR ของ Sangfor ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจะตรวจสอบระบบขององค์กรคุณตลอด 24/7 เพื่อตรวจจับภัยคุกคามและตอบสนองอย่างรวดเร็ว ป้องกันการหยุดชะงักของระบบ IoT ที่สำคัญ

5. โซลูชัน SD-WAN และการเพิ่มประสิทธิภาพ WAN

Sangfor มอบโซลูชัน SD-WAN ที่ช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT และระบบหลัก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีอุปกรณ์ IoT กระจายตัวในหลายพื้นที่

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก Sangfor ได้ที่ www.sangfor.com หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติม

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Name
Email Address
Business Phone Number
Tell us about your project requirements

Related Glossaries

Cloud and Infrastructure

What is Single Vendor SASE?

Date : 30 Apr 2025
Read Now
Cloud and Infrastructure

What is Virtual Data Center?

Date : 29 Apr 2025
Read Now
Cloud and Infrastructure

What is a Software-Defined Data Center (SDDC)?

Date : 25 Apr 2025
Read Now

See Other Product

HCI - Hyper Converged Infrastructure - Sangfor HCI - โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ
Cloud Platform - Thai
aDesk Virtual Desktop Infrastructure (VDI) - โครงสร้างพื้นฐานเดสก์ท็อปเสมือน aDesk (VDI)
WANO ของ Sangfor
SIER
EasyConnect-Thai