ในยุคแห่งดิจิทัลนี้ การป้องกันความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้กลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดย ข้อมูลขององค์กรมากกว่า 60% ถูกเก็บไว้บน Cloud ทำให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ หันไปใช้สภาพแวดล้อมแบบ Cloud-Based ทั้งนี้ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยการรั่วไหลของข้อมูล (Data Breaches) ส่งผลให้ธุรกิจเกิดความเสียหายโดยเฉลี่ย 4.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อหนึ่งการโจมตี ด้วยเหตุนี้ทำให้การปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลและข้อมูลที่มีความอ่อนไหวกลายเป็นความสำคัญลำดับสูงสุดของธุรกิจ เนื่องจากช่องโหว่ในระบบคลาวด์อาจนำไปสู่ผลกระทบร้ายแรงต่อชื่อเสียง เงินทุนของธุรกิจ และอาจเป็นการละเมิดกฎข้อบังคับ ดังนั้น Cloud Security จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนธุรกิจในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เก็บไว้ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ความท้าทายด้านความปลอดภัยและปรับตัวให้เข้ากับความซับซ้อนของ Cloud Computing ซึ่งโซลูชัน Cloud Security ที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้องค์กรสามารถลดความเสี่ยง รักษาความลับของข้อมูล และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
Cloud Security คืออะไร?
Cloud security คือ ชุดเทคโนโลยี นโยบาย และการควบคุมที่ปกป้องข้อมูล แอปพลิเคชัน และโครงสร้างพื้นฐานภายในสภาพแวดล้อม Cloud Computing จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตั้งแต่การเข้ารหัสข้อมูลและการจัดการการระบุตัวตนและการเข้าถึง (Identity and Access Management - IAM) ไปจนถึงความปลอดภัยของเครือข่ายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ Cloud Cyber Security ช่วยให้มั่นใจว่าทรัพยากรใน Public, Private และ Hybrid Cloud จะยังคงปลอดภัยจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การรั่วไหล และการโจมตีที่เป็นอันตราย
ระบบ Cloud Security ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะของบริการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดเก็บ ประมวลผล และจัดการข้อมูลบนคลาวด์อย่างปลอดภัย ในขณะที่รักษาความเป็นส่วนตัว ความสมบูรณ์ และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
องค์ประกอบสำคัญของ Cloud Security
Cloud Security ที่มีประสิทธิภาพประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อมอบการปกป้องข้อมูล ระบบ และแอปพลิเคชันในสภาพแวดล้อม Cloud เช่น
- การปกป้องข้อมูล (Data Protection) - ข้อมูล Cloud จะได้รับการรักษาความปลอดภัยผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การเข้ารหัส (Encryption) และการใช้โทเคน (Tokenization) ซึ่งป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระหว่างการรับ-ส่งข้อมูลอีกด้วย
- การควบคุมการเข้าถึง (Access Control) - Cloud Security ที่ดีควรมีโปรโตคอลการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เช่น IAM สำหรับตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งานและควบคุมการเข้าถึงทรัพยากร Cloud Security โดย IAM สามารถกำหนดบทบาทและระดับการเข้าถึง ช่วยให้มั่นใจว่ามีเพียงผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลและระบบต่างๆ ที่มีความอ่อนไหวหรือเป็นความลับ
- ความปลอดภัยของเครือข่าย (Network Security) - ไฟร์วอลล์ (Firewall) ระบบตรวจจับการบุกรุก และการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเป็นรากฐานของความปลอดภัยเครือข่ายภายใน Cloud เครื่องมือเหล่านี้ป้องกันการรับส่งข้อมูลที่เป็นอันตรายจากการเข้าสู่เครือข่าย รวมถึงการโจมตีแบบ ฟิชชิง (Phishing) ซึ่งช่วยรักษาทั้ง Cloud Server Security และการรั่วไหลของข้อมูลที่มีความอ่อนไหว
- การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance) - การปฏิบัติตามข้อบังคับ เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Cloud Security โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวด ซึ่งผู้ให้บริการ Cloud ส่วนใหญ่จะเสนอเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจใช้งานคลาวด์ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบต่างๆ เช่น GDPR, HIPAA และ PDPA
Cloud Security สำคัญอย่างไร?
การนำโซลูชัน Cloud Security ที่มีประสิทธิภาพมาใช้งานสามารถช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์สำคัญในการใช้งาน Cloud อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่า Cloud Security มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำงานของระบบ Cloud
- ความสมบูรณ์และการปกป้องข้อมูล: Cloud Security Services ที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยป้องกันข้อมูลที่มีความอ่อนไหว โดยจะอนุญาตเฉพาะผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ด้วยการเข้ารหัสและการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล องค์กรสามารถลดโอกาสเกิดการรั่วไหลของข้อมูลและการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดต้นทุนการดำเนินงาน: การลงทุนใน Cloud Security สามารถช่วยให้บริษัทหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายจากการการรั่วไหลของข้อมูลและเวลาการหยุดชะงัก (Downtime) จากการถูกโจมตี แนวทางการป้องกันเชิงรุกนี้ลดความเสี่ยงทางการเงิน ขณะเดียวกันก็ช่วยรักษาชื่อเสียงของบริษัทและความเชื่อใจของลูกค้า
- เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน: โครงสร้างพื้นฐาน Cloud ที่ปลอดภัยช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้ราบรื่นโดยไม่มีการหยุดชะงักจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนการเติบโตและความสามารถในการขยายธุรกิจ
- การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ: Cloud Security ที่แข็งแกร่งช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎระเบียบเฉพาะอุตสาหกรรมและมาตรฐานความเป็นส่วนตัว องค์กรสามารถปกป้องข้อมูลที่มีความอ่อนไหวและรักษาความไว้วางใจกับลูกค้า บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กลุ่มต่างๆ
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากไม่ใช้งาน Cloud Security
หากองค์กรขาดมาตรการ Cloud Cyber Security ที่ครอบคลุม ก็มีโอกาสที่จะเผชิญกับความหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อการต้นทุน ชื่อเสียง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ยกตัวอย่างเช่น
- การรั่วไหลและการสูญเสียข้อมูล - Cloud Server Security ที่ไม่เพียงพอทำให้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวเสี่ยงต่อการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การรั่วไหลของข้อมูลสามารถนำไปสู่การสูญเสียทางการเงินที่สำคัญและความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กร
- การหยุดชะงักในการดำเนินงานและการหยุดทำงาน (Downtime) - การละเมิดความปลอดภัยมักส่งผลให้เกิด downtime ซึ่งรบกวนกระบวนการทางธุรกิจและส่งผลกระทบต่อผลิตภาพโดยรวม การหยุดชะงักที่ยาวนานอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงินและความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ตึงเครียด
- ปัญหาทางกฎหมายและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ - การไม่นำ Cloud Security ที่เหมาะสมมาใช้งาน อาจส่งผลให้องค์กรมีความเสี่ยงต่อการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานกฎระเบียบ เช่น GDPR หรือ PDPA หากเกิดการรั่วไหลของข้อมูล หรือวางมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ครอบคลุมมากพอ องค์กรอาจต้องแบกรับค่าปรับ บทลงโทษทางกฎหมาย และสูญเสียความไว้วางใจของลูกค้า
ประเภทของโซลูชัน Cloud Security
องค์กรสามารถปรับใช้โซลูชัน Cloud Security หลากหลายรูปแบบเพื่อรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมคลาวด์ โดย Cloud Security แต่ละประเภทถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับโครงสร้างพื้นฐาน Cloud ในส่วนที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- ความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Security): การปกป้องทรัพย์สินทั้งทางกายภาพและเสมือนใน cloud ความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานใช้เครื่องมือเช่น ไฟร์วอลล์ (Firewall) หรือ Secure Web Gateway และทำการแบ่งส่วนเครือข่ายเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต วิธีการนี้แยกข้อมูลและทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งสร้างชั้นที่ถูกควบคุมภายในสภาพแวดล้อม Cloud
- การจัดการตัวตนและการเข้าถึง (Identity and Access Management - IAM): โซลูชัน IAM ควบคุมการเข้าถึงด้วยการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งานและจัดการการให้สิทธิ์อนุญาตสำหรับบทบาทต่างๆ ผ่านการตรวจสอบแบบหลายปัจจัย ( Multi-Factor Authentication - MFA ) และโปรโตคอลการเข้าถึงที่เข้มงวด โดยจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
- การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption): การเข้ารหัสข้อมูลเปลี่ยนข้อมูลที่มีความอ่อนไหวให้เป็นรหัสที่อ่านไม่ออก ทำให้สามารถเข้าถึงได้เฉพาะผู้ใช้ที่มีการอนุญาตที่เหมาะสมเท่านั้น การเข้ารหัสทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันที่สำคัญสำหรับข้อมูลทั้งในขณะจัดเก็บและในระหว่างการถ่ายโอน ป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตและรักษาความลับ รวมถึงการใช้ Data Loss Prevention (DLP) เพื่อป้องกันการสูญเสียข้อมูลที่สำคัญ
- เครื่องมือการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการตรวจสอบ (Compliance and Monitoring Tools): เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้บริษัทรักษามาตรฐานกฎระเบียบและตรวจสอบกิจกรรมที่ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบอัตโนมัติและการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ เครื่องมือตรวจสอบช่วยให้สามารถจัดการภัยคุกคามความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นในระบบ cloud ได้แบบเชิงรุก
ความปลอดภัยสำหรับ Public, Private และ Hybrid Clouds
การใช้งานระบบ Cloud ที่แตกต่างกันก็ต้องอาศัยกลยุทธ์ Cloud Security ที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน โดยแต่ละรูปแบบมุ่งเน้นไปที่วิธีการเฉพาะในการปกป้องข้อมูลและการควบคุมการเข้าถึงสำหรับ Public, Private และ Cloud Computing Hybrid
ประเภทคลาวด์ | กลยุทธ์ความปลอดภัยที่ควรมุ่งเน้น |
---|---|
Public Cloud | มุ่งเน้นไปยังการปกป้องข้อมูลผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ร่วมกัน โดยใช้ IAM ขั้นสูงและการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อการเข้าถึงที่ปลอดภัย |
Private Cloud | สร้างสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมอย่างรัดกุม ผ่านการตั้งค่าไฟร์วอลล์ หรือ Next-Generation Firewall ( NGFW ) ที่แข็งแกร่งและการควบคุมการเข้าถึง ช่วยให้มีความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวดขึ้นและการกำหนดค่าความปลอดภัยที่ปรับแต่งได้ |
Hybrid Cloud | Hybrid Cloud ผสานรวมสภาพแวดล้อม Public และ Private เข้าด้วยกัน จึงต้องใช้งานโซลูชัน Cloud Security ทำงานได้อย่างที่ราบรื่น พร้อมเทคโนโลยี ZTNA (Zero Trust Network Access) และ SD-WAN (Software-Defined Wide Area Network) เพื่อรักษาความปลอดภัย ลดโอกาสเกิดการรั่วไหลของข้อมูลและรักษาความปลอดภัยที่สม่ำเสมอในคลาวด์ที่ต่างกัน |
หลักการทำงานของ Cloud Security
Cloud Security ดำเนินการผ่านวิธีการแบบหลายชั้นที่รวมเทคโนโลยี นโยบาย และแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อปกป้องข้อมูลและแอปพลิเคชันภายในสภาพแวดล้อมคลาวด์ โดยหลักแล้วบริการ Cloud Security ใช้ IAM การเข้ารหัส และการตรวจสอบเครือข่าย หรืออาจทำงานรวมกับระบบ MDR เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล โดยระบบ IAM จะจำกัดการเข้าถึงทรัพยากร Cloud ด้วยการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งาน ขณะที่การเข้ารหัสรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทั้งระหว่างการรับ-ส่งและขณะจัดเก็บ
นอกจากนี้ Cloud Security ยังช่วยเฝ้าสังเกตการณ์และตรวจจับภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันเซิร์ฟเวอร์คลาว์ดจากการโจมตีต่างๆ โดยใช้งานเครื่องมือขั้นสูงในการตรวจจับช่องโหว่ พร้อมแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบเกี่ยวกับการละเมิดที่อาจเกิดขึ้น และนำการตอบสนองอัตโนมัติมาใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์อย่างรวดเร็ว แนวทางดังกล่าวยังช่วยลดความเสี่ยง ลดเวลาการตอบสนอง และมีความยืดหยุ่นในการเผชิญกับภัยคุกคามในอนาคต
บทบาทของระบบ Automation และ AI ใน Cloud Security
ใน Cloud Security ระบบ Automation และ AI ช่วยให้สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว อัลกอริทึม Machine Learning สามารถสแกนข้อมูลจำนวนมากเพื่อหารูปแบบที่ผิดปกติ ทำให้สามารถระบุภัยคุกคามได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ขณะเดียวกัน ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบเรียล์ไทม์ ด้วยการแยกทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบหรือเปลี่ยนเส้นทางการรับส่งข้อมูลเพื่อจำกัดความเสียหาย อีกทั้ง AI ยังเรียนรู้จากภัยคุกคามที่เคยพบเจอได้ ซึ่งช่วยให้โซลูชัน Cloud Security สามารถคาดเดาและต่อกรกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ พร้อมกับปกป้ององค์กรท่ามกลางภูมิทัศน์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ความท้าทายของโซลูชัน Cloud Security
แม้ว่าโซลูชัน Cloud Security มอบการป้องกันที่แข็งแกร่ง แต่ก็ยังมีความท้าทายหลายประการที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญ และปฏิบัติตามกฎระเบียบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยความท้าทายหลักในการนำ Cloud Security มาใช้งานที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- การรั่วไหลของข้อมูล ( Data Breaches) - การรั่วไหลข้อมูลเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในสภาพแวดล้อม Cloud โดยมักเกิดจากตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ผิดพลาด หรือการควบคุมการเข้าถึงที่ไม่ครอบคลุม เมื่อข้อมูลถูกเปิดเผย อาจนำไปสู่ความเสียหายทางการเงินและชื่อเสียงขององค์กร ดังนั้น การนำวิธีการเข้ารหัสและ MFA มาใช้จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น
- ภัยคุกคามจากภายใน ( Insider Threats ) - พนักงานที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหวอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการละเมิดความปลอดภัย ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม ซึ่งภัยคุกคามจากคนในองค์กรถือเป็นเรื่องที่ท้าทายในการจัดการ เพราะเกิดจากการเข้าถึงภายในองค์กร การตรวจสอบเป็นประจำและโปรโตคอล IAM ที่แข็งแกร่งช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ ด้วยการติดตามกิจกรรมของผู้ใช้งานและจำกัดการเข้าถึงตามสิทธิ์ที่ได้รับ
- การตั้งค่าผิดพลาด ( Misconfigurations ) - การกำหนดค่าผิดในการตั้งค่า Cloud เป็นช่องโหว่ทั่วไป ทำให้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวถูกเปิดเผยโดยไม่ตั้งใจ เครื่องมืออัตโนมัติที่สแกนหาข้อผิดพลาดในการกำหนดค่าและแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบช่วยป้องกันการเปิดเผยข้อมูลโดยการจัดการช่องโหว่ความปลอดภัยอย่างทันท่วงทีและลดข้อผิดพลาดของมนุษย์
- การละเมิดการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Violations) - การปฏิบัติตามกฎระเบียบ เช่น GDPR หรือ HIPAA สามารถช่วยรักษาความไว้วางใจและหลีกเลี่ยงผลทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจคุณ เพราะหากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบอาจส่งผลให้เกิด ค่าปรับจำนวนมาก และความเสียหายต่อชื่อเสียง เครื่องมือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการตรวจสอบเป็นประจำจะช่วยสนับสนุนองค์กรให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎระเบียบ พร้อมช่วยลดความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูล
- การขาดการมองเห็น (Lack of Visibility) - การมองเห็นที่จำกัดในสภาพแวดล้อม Cloud ทำให้การตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย หากไม่มีข้อมูลเชิงลึกที่ชัดเจน การระบุช่องโหว่ตั้งแต่เนิ่นๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการรั่วไหลของข้อมูลที่ไม่ถูกตรวจพบ ดังนั้น องค์กรควรทำการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มการมองเห็น ให้สามารถระบุและจัดการความเสี่ยงแบบเชิงรุก
ตัวอย่าง Cloud Security
ปัจจุบันมีกรณีศึกษามากมายแสดงให้เห็นว่าองค์กรสามารถใช้โซลูชัน Cloud Security เพื่อปกป้องข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานจากภัยคุกคามอย่างไร ดังนั้น มาดูตัวอย่างแนวทางการใช้งาน Cloud Security ที่มีประสิทธิภาพจากบริษัทที่มีชื่อเสียงทั่วโลกกันเลย
การตอบสนองต่อการรั่วไหลข้อมูลของบริษัท Capital One
ในปี 2019 Capital One ได้ประสบกับปัญหาการรั่วไหลข้อมูล เนื่องจากเว็บแอปพลิเคชันมีการกำหนดค่าผิดพลาด ทำให้ข้อมูลลูกค้าถูกเปิดเผย เพื่อป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต Capital One ได้นำมาตรการรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติมาใช้งาน รวมถึงการสแกนหาภัยคุกคามแบบเรียล์ไทม์ และการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงเหล่านี้ช่วยให้บริษัทระบุและแก้ไขช่องโหว่ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยโซลูชันเหล่านี้ Capital One จึงสามารถเสริมสร้างความสามารถในการตรวจสอบการกำหนดค่าและตรวจจับการรั่วไหลของข้อมูล และระงับเหตุการณ์ก่อนสถานการณ์จะบานปลาย
AWS Shield และการป้องกัน DDoS
Amazon Web Services (AWS) ใช้ AWS Shield ซึ่งเป็นบริการเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) ซึ่งสามารถรบกวนความพร้อมใช้งานของบริการต่างๆ โดย AWS Shield จะทำการตรวจสอบรูปแบบการรับ-ส่งข้อมูล เพื่อตรวจจับและลดความการกระทำที่เป็นอันตรายที่ส่งผลต่อเครือข่าย วิธีการเชิงรุกนี้ช่วยให้ AWS รักษาเสถียรภาพของบริการและปกป้องผู้ใช้งานจากการหยุดชะงักที่เกิดจากการโจมตี DDoS ซึ่งถือเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของ Cloud Server Security ในบริการ Cloud ขนาดใหญ่
การปรับปรุงความปลอดภัยของ Dropbox
Dropbox ใช้งาน ฟีเจอร์ความปลอดภัย ที่ครอบคลุมเพื่อปกป้องข้อมูลผู้ใช้ใน Cloud โดยมาตรการความปลอดภัยหลัก ได้แก่ การตรวจสอบแบบสองปัจจัย (Two-Factor Authentication - 2FA ) การเข้ารหัส 256-bit AES สำหรับข้อมูลที่ถูกเก็บ และการเข้ารหัส SSL/TLS สำหรับการส่งข้อมูล นอกจากนี้ Dropbox ยังตรวจสอบการรั่วไหลข้อมูลและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีมาตรฐานเช่น GDPR และ HIPAA ทำให้เป็นตัวเลือกที่เชื่อถือได้และมาตรฐานสำหรับการจัดเก็บข้อมูลบน Cloud อย่างปลอดภัย
ข้อได้เปรียบของ Cloud Security จาก Sangfor
Sangfor โดดเด่นในด้านการรักษาความปลอดภัย Cloud Security ด้วยโซลูชันที่ครอบคลุมและขับเคลื่อนด้วย AI ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับความท้าทายของสภาพแวดล้อมดิจิทัลในปัจจุบัน ด้วยผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งอย่าง Sangfor NGFW ( Next-Generation Firewall ), ระบบ EDR อย่าง Endpoint Secure และ SASE (Secure Access Service Edge) ซึ่งมอบการปกป้องข้อมูลในหลายระดับ ตั้งแต่เครือข่ายและอุปกรณ์ปลายทาง ไปจนถึงแอปพลิเคชัน และการป้องกัน Ransomware Cloud ด้วยแนวทางการรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้นของโซลูชัน Cloud Security นี้ ประกอบกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการตรวจจับภัยคุกคามที่ขับเคลื่อนด้วย AI ให้การป้องกันแบบเรียล์ไทม์สำหรับภัยคุกคาม Cloud Cyber Security ขั้นสูง
Sangfor มุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรม ด้วยการลงทุนด้าน R&D อย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติตามกฎระเบียบทั่วโลกรวมถึง GDPR และ HIPAA ได้รับการยอมรับจากนักวิเคราะห์อุตสาหกรรม โดยบริการ Cloud Security ของ Sangfor ช่วยให้ธุรกิจมีการปกป้องที่เชื่อถือได้และขยายตัวได้ ทำให้เป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้สำหรับลูกค้ามากกว่า 100,000 รายทั่วโลกที่มองหา Cloud Security ที่แข็งแกร่งใน Cloud Computing
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโซลูชัย Cloud Security
ภัยคุกคามหลักต่อ Cloud Security รวมถึงการรั่วไหลข้อมูล ภัยคุกคามจากบุคลากรภายใน และการกำหนดค่าผิดพลาด ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถเปิดเผยข้อมูลที่มีความอ่อนไหว รบกวนบริการ Cloud และอาจนำไปสู่การละเมิดกฎระเบียบที่มีค่าปรับจำนวนมาก ซึ่งโซลูชัน Cloud Security เชิงรุก เช่น การเข้ารหัสและการจัดการตัวตน สามารถช่วยลดช่องโหว่เหล่านี้ได้
Cloud Security จัดการเฉพาะการปกป้องข้อมูล แอปพลิเคชัน และโครงสร้างพื้นฐานภายในสภาพแวดล้อมคลาวด์ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังการควบคุม เช่นการจัดการการเข้าถึง และการเข้ารหัส ในทางกลับกัน Cybersecurity แบบดั้งเดิมมีขอบเขตการรักษาความปลอดภัยที่กว้างกว่า ซึ่งครอบคลุมทั้งระบบ On-Premises และ Cloud โดยมีการมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของอุปกรณ์ปลายและเครือข่าย
บริการ Cloud Security ที่มีประสิทธิภาพนั้นควรนำเสนอการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุม ตั้งแต่การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย การเข้ารหัส และการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจจับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ สามารถช่วยให้องค์กรรักษาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยสำหรับ Cloud Computing ได้ดียิ่งขึ้น
เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถสนับสนุนความปลอดภัยสำหรับระบบ Cloud ด้วยการระบุรูปแบบที่ผิดปกติและการตอบสนองต่อภัยคุกคามแบบอัตโนมัติและเรียล์ไทม์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจต่อต้านภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์บน Cloud
การปฏิบัติตามกฎระเบียบช่วยให้มั่นใจว่า Cloud Security ใน Cloud Computing นั้นเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งสิ่งสำคัญต่อการปกป้องข้อมูลที่มีความอ่อนไหวและรักษาความไว้วางใจของลูกค้า ด้วยการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เช่น GDPR และ HIPAA บริษัทจะลดความเสี่ยงของปัญหาทางกฎหมาย และรักษาความมั่นคงของ Cloud Security ได้