ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) มีความซับซ้อนและเกิดการโจมตีต่อเนื่องมากขึ้นทุกวัน การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรทุกขนาด ซึ่งการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน (Two-Factor Authentication) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า 2FA นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่เข้ามาเสริมความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน (2FA) ตัวช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล

การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน คืออะไร 

การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication) คือ ระบบการตรวจสอบผู้ใช้งานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบต่างๆ โดยใช้วิธีการยืนยันตัวตน (Authentication) จากสองแหล่งที่แตกต่างกัน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่กำลังพยายามเข้าถึงข้อมูลนั้นเป็นบุคคลที่มีสิทธิ์จริงๆ ด้วยการเพิ่มขั้นตอนการยืนยันตัวตนที่มากกว่าการใช้รหัสผ่านเพียงอย่างเดียว ที่รัดกุมและปลอดภัยมากขึ้น แม้ว่ารหัสผ่านจะถูกขโมยหรือถูกเปิดเผยโดยแฮกเกอร์ ซึ่งผู้ที่ไม่ประสงค์ดียังคงต้องผ่านการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

ปัจจัยที่ใช้ในการยืนยันตัวตน (Authentication Factor) 

ในการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนนั้น ผู้ใช้งานต้องใช้ “ปัจจัย” (Factor) เพื่อทำการยืนยัน โดยสามารถแบ่งปัจจัยดังกล่าวออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

1. Something You Know 

Something You Know หรือ “สิ่งที่คุณทราบ” คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้งานจดจำหรือรับทราบ เช่น รหัสผ่าน (Password), PIN (Personal Identification Number), คำถามความปลอดภัย (Security Questions) หรือชื่อผู้ใช้งาน (Username) เป็นต้น

2. Something You Have 

Something You Have หรือ “สิ่งที่คุณมี” คือ ยืนยันจากอุปกรณ์หรือสิ่งที่ผู้ใช้มีในครอบครอง เช่น โทรศัพท์มือถือที่รับรหัส OTP ผ่าน SMS, แอปพลิเคชันยืนยันตัวตน (Authenticator Apps), อุปกรณ์ความปลอดภัย (Security Keys) หรือบัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Cards)

3. Something You Are 

Something You Are หรือ “สิ่งที่คุณเป็น” คือ ข้อมูลลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล หรือเรียกอีกอย่างว่า ข้อมูลชีวมิติ (Biometric Data) ของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprints), สแกนใบหน้า (Facial Recognition), สแกนม่านตา (Iris Scanning) หรือยืนยันตัวตนด้วยเสียงพูด (Voice Recognition)

โดยการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน จะใช้ปัจจัย 2 ประเภทที่แตกต่างกัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยทั่วไปมักเป็นการรวมกันระหว่าง "สิ่งที่คุณทราบ" (เช่น รหัสผ่าน) และ "สิ่งที่คุณมี" (เช่น โทรศัพท์มือถือ)

รูปแบบของการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน 

2FA  มีหลากหลายรูปแบบที่องค์กรสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ โดยรูปแบบการยืนยันที่เป็นที่นิยมใช้งาน ได้แก่

รหัส OTP ผ่าน SMS หรืออีเมล 

หนึ่งในรูปแบบการยืนยันตัวตนที่พบได้อย่างแพร่หลายเมื่อใช้บริการต่าง ๆ คือ การรับรหัส OTP (One-Time Password) ผ่านทาง SMS หรืออีเมล โดยหลังจากผู้ใช้กรอกชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านถูกต้อง ระบบจะส่งรหัส OTP ไปยังหมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมลที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อยืนยันตัวตนอีกครั้ง ซึ่งรหัสนี้จะมีอายุการใช้งานจำกัด (ประมาณ 30 วินาทีถึง 5 นาที) จึงเป็นการป้องกันการเจาะรหัสผ่านได้ โดยเฉพาะการแฮกแบบสุ่มรหัสผ่าน (Brute-Force Attack) 

แอปพลิเคชันยืนยันตัวตน (Authenticator Apps) 

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันยืนยันตัวตนมากมาย เช่น Google Authenticator, Microsoft Authenticator หรือ Authy ที่เปิดบริการให้ใช้งาน ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีความปลอดภัยสูง โดยแอปเหล่านี้จะสร้างรหัส OTP ที่เปลี่ยนแปลงทุก 30 วินาที โดยไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทำให้มีความเสี่ยงต่อการดักจับข้อมูลน้อยกว่าการส่งผ่าน SMS 

ยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลชีวมิติ (Biometric) 

การยืนยันด้วยข้อมูลชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า หรือแม้แต่ลักษณะของม่านตา กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในการเข้าใช้งานสมาร์ทโฟน ทำธุรกรรมออนไลน์ หรือบริการต่างๆ เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความเป็นเอกลักษณ์สูง ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง

Security Keys 

Security Keys เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการยืนยันตัวตน เช่น USB ที่ใช้ในการปลดล็อกคอมพิวเตอร์ร่วมกับรหัสผ่าน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้นับว่ามีความปลอดภัยสูง เนื่องจากไม่สามารถถูกแฮกจากระยะไกลได้ และจำเป็นต้องมีการครอบครองอุปกรณ์ทางกายภาพจริง

ข้อดีของการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน 

การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีและภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมการป้องกันให้การเข้าถึงข้อมูลของบัญชีทำได้ยากมากยิ่งขึ้น ประกอบกับมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย

  • เพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีผู้ใช้งาน 

การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน ช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับบัญชีผู้ใช้ ทำให้ยากต่อการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่ารหัสผ่านจะถูกขโมยไปแล้วก็ตาม

  • ลดความเสี่ยงจากการโจมตีแบบ Phishing 

การโจมตีแบบฟิชชิง (Phishing) มักมุ่งเป้าไปที่การเข้าถึงบัญชีผู้ใช้งาน เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือฉ้อโกงทางการเงิน แต่ Two-Factor Authentication สามารถช่วยป้องกันการโจมตีดังกล่าวได้ เนื่องจากแฮกเกอร์จำเป็นต้องมีปัจจัยอีกหนึ่งประเภทเพื่อยืนยันตัวตนอีกขั้นตอน

  • ป้องกันการใช้รหัสผ่านซ้ำ 

เป็นเรื่องปกติที่หลายคนมักใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับหลาย ๆ บัญชี ไม่ว่าจะเป็นบัญชีโซเชียลมีเดีย อีเมล หรือบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่ามีเสี่ยงสูง เพราะหากแฮกเกอร์หรือมิจฉาชีพรู้ถึงรหัสผ่านของบัญชีใดบัญชีหนึ่ง ก็สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลในบัญชีอื่น ๆ ได้ง่าย ซึ่งการเปิดใช้มาตรการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนจะยังช่วยป้องกันไม่ให้บัญชีอื่น ๆ ถูกเข้าถึงได้ง่าย ๆ 

  • ตรวจจับการเข้าถึงที่น่าสงสัย 

เมื่อมีการพยายามเข้าถึงบัญชีที่ไม่ได้รับอนุญาต ผู้ใช้จะได้รับแจ้งเตือนผ่านขั้นตอนการยืนยันชั้นที่สอง ทำให้สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อการโจมตีได้ทันท่วงที

  • สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ 

การใช้การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอนช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานได้ว่า ข้อมูลและบัญชีของพวกเขาได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม ช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับการถูกขโมยข้อมูล

ข้อจำกัดของการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน 

แม้ว่าการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนจะมีประโยชน์หลายประการ แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่องค์กรและผู้ใช้งานควรพิจารณาก่อนนำมาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการ ดังนี้

  • เพิ่มความซับซ้อนในการใช้งาน 

การเพิ่มขั้นตอนการยืนยันตัวตนอาจทำให้กระบวนการเข้าสู่ระบบมีความซับซ้อนมากขึ้น และอาจทำให้ผู้ใช้บางคนรู้สึกไม่สะดวก

  • เกิดปัญหาเมื่ออุปกรณ์สูญหายหรือไม่สามารถใช้งานได้ 

หากผู้ใช้งานสูญเสียอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการยืนยันชั้นที่สอง เช่น โทรศัพท์มือถือ อาจทำให้เกิดปัญหาในการเข้าถึงบัญชี ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการกู้คืนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

  • การส่งรหัส OTP ผ่าน SMS อาจมีความเสี่ยง 

การส่งรหัส OTP ผ่าน SMS อาจมีความเสี่ยงจากการโจมตีแบบ SIM swapping หรือการดักจับข้อมูล ทำให้ไม่ปลอดภัยเท่ากับวิธีอื่นๆ

  • ต้องมีการตั้งค่าและการบริหารจัดการที่ดี 

การใช้งานการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนในองค์กรขนาดใหญ่อาจต้องการการบริหารจัดการและการตั้งค่าที่ซับซ้อน รวมถึงการฝึกอบรมพนักงานภายในองค์กรอีกด้วย

แนวทางการใช้งานการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนในองค์กร 

การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน (2FA) ตัวช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล

การนำการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนมาใช้ในองค์กรควรมีการวางแผนอย่างรอบคอบ

1. วิเคราะห์ความต้องการขององค์กร 

เริ่มต้นด้วยการประเมินความต้องการด้านความปลอดภัยขององค์กร ระบุระบบและข้อมูลสำคัญที่ต้องได้รับการปกป้องด้วยการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนในการเข้าถึง

2. เลือกวิธีการที่เหมาะสม 

พิจารณาเลือกวิธีการยืนยันตัวตน (Authentication) ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานและงบประมาณขององค์กร เช่น แอปพลิเคชันยืนยันตัวตน Security Keys หรือ OTP ผ่าน SMS

3. การฝึกอบรมผู้ใช้งาน 

ควรจัดให้มีการฝึกอบรมผู้ใช้งานเกี่ยวกับวิธีการใช้การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication) อย่างถูกต้องและปลอดภัย ก่อนนำมาใช้งานจริงภายในองค์กร

4. นำไปปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน 

ควรนำระบบการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลสำคัญหรือระบบที่มีความเสี่ยงสูงก่อน แล้วจึงขยายไปยังส่วนอื่นๆ ขององค์กร

5. มีแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน 

ควรคิดแผนรองรับกรณีฉุกเฉินในกรณีที่ไม่สามารถใช้ 2FA ในการเข้าถึงบัญชีได้ เช่น ขั้นตอนการกู้คืนบัญชีเมื่อผู้ใช้สูญเสียอุปกรณ์ยืนยันตัวตน

ทำไมองค์กรควรใช้การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน 

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) นั้นมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง การยืนยันตัวตนสองขั้นตอนเป็นมาตรการพื้นฐานที่สำคัญในการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบขององค์กร จากการเข้าถึงข้อมูลว่าเป็นบุคคลที่ได้รับสิทธิ์จริงหรือไม่  การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจว่าองค์กรของคุณให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัยที่มากขึ้น 

นอกเหนือจาก 2FA แล้ว ปัจจุบันนี้ได้มีโซลูชันต่าง ๆ ที่สามารถช่วยเสริมการป้องกันขององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น

  • EDR (Endpoint Detection & Response) - โซลูชันที่ช่วยตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่อุปกรณ์ปลายทางได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในคอมพิวเตอร์ของพนักงาน หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กร
  • Next-Generation Firewall (NGSW) - เทคโนโลยีไฟร์วอลล์ (Firewall) รุ่นล่าสุดที่ใช้การตรวจสอบแพ็กเก็ตเชิงลึก (DPI) สำหรับตรวจสอบเนื้อหา (Payload) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างกฎไฟร์วอลล์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นตามประเภทของข้อมูล แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ และผู้ใช้งาน
  • Data Loss Prevention (DLP) - ระบบการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญภายในองค์กร รวมถึงอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย เช่น แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ
  • MDR (Managed Detection and Response) - หนึ่งในรูปแบบบริการด้านความปลอดภัยที่มีการเฝ้าระวัง ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามในเครือข่ายขององค์กร
  • Secure Web Gateway (SWG) - โซลูชันที่มีหน้าที่ตรวจสอบทราฟฟิกบนอินเทอร์เน็ต (Internet Traffic) เพื่อคัดกรองเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย และเพิ่มเกราะป้องกันภัยคุกคามออนไลน์ให้กับองค์กร
  • SASE (Secure Access Service Edge) - โซลูชันที่รวมเอาความสามารถด้านเครือข่ายและความปลอดภัยเข้าด้วยกัน พร้อมระบบการยืนยันตัวตน (Authentication) ที่แข็งแกร่ง
  • VDI (Virtual Desktop Infrastructure) - โครงสร้างพื้นฐานเดสก์ท็อปเสมือนที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงด้วยการยืนยันตัวตนหลายชั้น (Multi-factor authentication) ซึ่งช่วยให้องค์กรเช่น Yamaha Motor Asian Center สามารถทำงานระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

ด้วยการใช้งานระบบการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน (Two-Factor Authentication) ประกอบกับโซลูชันความปลอดภัยทันสมัยข้างต้น สามารถช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบรักษาความปลอดภัย และปกป้องข้อมูลสำคัญจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber threats) ที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวันนี้ได้

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก Sangfor ได้ที่ www.sangfor.com หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราวันนี้เพื่อขอรับคำปรึกษาและวางแผนความปลอดภัยไซเบอร์ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ

Search

Get in Touch

Get in Touch with Sangfor Team for Business Inquiry

Name
Email Address
Business Phone Number
Tell us about your project requirements

Related Glossaries

Cyber Security

What Is Data Backup and Recovery?

Date : 09 May 2025
Read Now
Cyber Security

What Is Cookie-Bite Attack?

Date : 08 May 2025
Read Now
Cyber Security

ข้อมูลรั่วไหลคืออะไร? รู้การป้องกันข้อมูลรั่วไหลขององค์กร

Date : 08 May 2025
Read Now

See Other Product

Cyber Command - NDR Platform - Sangfor Cyber Command - แพลตฟอร์ม NDR
Sangfor Endpoint Secure
Internet Access Gateway (IAG)
Sangfor Network Secure - Next Generation Firewall (NGFW)
Platform-X
Sangfor Access Secure - โซลูชัน SASE