การโจมตีทางไซเบอร์กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่โลกก้าวสู่ยุคดิจิทัลและโซลูชันออนไลน์มากขึ้น ความซับซ้อนและความก้าวหน้าของการโจมตีทางไซเบอร์ทำให้ธุรกิจต้องนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งาน และที่สำคัญคือ การก่อตั้งทีม SecOps (Security Operations) เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าองค์กรจะได้รับการป้องกันจากการละเมิดข้อมูลและช่วยลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบดิจิทัลยุคใหม่ การพึ่งพาแนวทางแบบตอบสนองเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ องค์กรต้องใช้แนวทางเชิงรุกเพื่อให้อยู่รอดและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ซึ่งจากรายงานของ Cybersecurity Ventures คาดว่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางไซเบอร์จะมีมูลค่ามากถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2025 และแน่นอนว่าตัวเลขที่น่าตกใจนี้บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการมี Security Operations (SecOps)
SecOps คือ อะไร?
SecOps คือ แนวทางที่รวมทีมรักษาความปลอดภัย (Security) และทีม IT Operations เข้าด้วยกันให้เป็นทีมเดียวกัน ซึ่งเป็นการรวมกระบวนการและเครื่องมือจากทั้งสองทีมเพื่อตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง เพิ่มความสามารถในการตอบสนองเชิงรุกต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย ซึ่งองค์กรจะสามารถปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างเหมาะสมด้วยการปรับปรุงการสื่อสารและการร่วมมือระหว่างสองทีมนี้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ SecOps เกิดขึ้นมาเพื่มยกระดับการรักษาความขององค์กรโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพด้าน IT
ตามรายงานที่เผยแพร่โดย IBM มูลค่าความเสียหายโดยเฉลี่ยจากการละเมิดข้อมูลในปี 2024 นั้นเป็นจำนวน 4.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดที่เคยบันทึกไว้
ทำไม SecOps จึงสำคัญ?
องค์กรสมัยใหม่พึ่งพาเทคโนโลยีอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจและการดำเนินงานสู่ดิจิทัล อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อม Cloud Computing Hybrid กำลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ภัยคุกคามและการโจมตีมีความหลากหลายและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เครื่องมือและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยแบบดั้งเดิม ไม่สามารถรับมือการโจมตีสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลขององค์กร
รายงาน Ransomware ทั่วโลกปี 2023 ของ Fortinet ระบุว่า 78% ขององค์กรเชื่อว่าพวกเขาพร้อมที่จะลดผลกระทบจากการโจมตี ในขณะที่ 50% ยังคงตกเป็นเหยื่อของการโจมตี Ransomware ในปีที่แล้ว
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องเลือกใช้ SecOps ได้แก่
- การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เหนือกว่า - กรอบการทำงานของ SecOps ที่ชัดเจนสามารถช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อเหตุการณ์การด้านความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ โดยไม่มีการหยุดชะงักหรือการหยุดทำงานที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
- ประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น - การร่วมมือระหว่างทีม IT และทีมความปลอดภัยช่วยปรับปรุงกระบวนการ แบ่งปันความรู้ระหว่างทีม และช่วยให้ตัดสินใจร่วมกันได้ดีขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรโดยรวม
- การเปลี่ยนผ่านจากระบบเก่าสู่ Cloud/Distributed - สภาพแวดล้อม IT แบบดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนผ่านสู่สภาพแวดล้อมคลาวด์หรือแบบกระจายศูนย์ตามความต้องการและข้อกำหนดทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจสร้างช่องโหว่ในเครือข่ายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการโจมตีจากภายนอก ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับหลายอย่างสามารถเข้าถึงได้ง่าย
- การปฏิบัติตามข้อกำหนด - ทีม SecOps ช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่ากำลังปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐานของกฎระเบียบและอุตสาหกรรมในระดับสูงสุด การปฏิบัติตามนี้ช่วยลดความเสี่ยงของการถูกปรับทางกฎหมาย และรักษาความไว้วางใจของลูกค้า พร้อมลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดข้อมูล
- การให้ความสำคัญกับความปลอดภัย - ทีม DevOps มักเน้นความรวดเร็วและอาจละเลยความปลอดภัยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ทีม SecOps ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้น รวมถึงรับประกันความเร็วและความปลอดภัยไปพร้อมกัน
Security Operations ก่อตั้งขึ้นบนแนวคิดของการรวมความปลอดภัยเข้าไปในทุกด้านของการดำเนินงานขององค์กร ตั้งแต่การตรวจจับภัยคุกคาม การตรวจสอบเครือข่าย การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทันสมัย การลดความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ และการจัดการช่องโหว่ต่างๆ ด้วยการส่งเสริมการร่วมมือระหว่าง IT และทีมรักษาความปลอดภัย ทีม SecOps จะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีความยืดหยุ่นสูง
เป้าหมายของ Security Operations
เป้าหมายสูงสุดของ SecOps คือการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยขององค์กร เพื่อให้มีการละเมิดข้อมูลน้อยลง ลดช่องโหว่น้อยลง และก่อให้เกิดการรบกวนในการดำเนินงานที่น้อยลง ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกให้กับแนวทางการรักษาความปลอดภัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกแผนกขององค์กร เมื่อนำแนวทางนี้ไปปฏิบัติจะช่วยให้มั่นใจว่า สามารถติดตั้งฟีเจอร์ความปลอดภัยได้ตั้งแต่ระยะแรกของการวางแผนดำเนินงานหรือแอปพลิเคชันขององค์กร ด้วยการให้ความสำคัญกับการักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่วันแรก ทีม SecOps สามารถปรับปรุงกระบวนการและจัดลำดับความสำคัญได้ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลให้ระบุภัยคุกคามได้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงจากการละเมิดข้อมูล และรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ
เป้าหมายหลักในการนำ SecOps มาใช้ ได้แก่
1. การประหยัดต้นทุน - ต้นทุนเป็นปัจจัยตัดสินใจสำหรับองค์กรเสมอ โดยการลงทุนในความปลอดภัยเชิงรุกผ่าน SecOps องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ด้วยการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์และการละเมิดข้อมูล การลงทุนล่วงหน้าในความปลอดภัยนั้นย่อมคุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับการเสียเงินทุนให้กับความเสียหายที่เกิดขึ้น และการสูญเสียชื่อเสียงจากเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย
2. ความต่อเนื่องทางธุรกิจ - SecOps ให้มั่นใจได้ว่า เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยจะลดน้อยลง และส่งกระทบน้อยที่สุดหากเกิดขึ้น ช่วยให้การดำเนินการได้แบบไม่หยุดชะงัก ช่วยรักษาผลิตภาพ รายได้ และความพึงพอใจของลูกค้า
3. ความไว้วางใจของลูกค้า - การส่งเสริมและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรต่อโซลูชันความปลอดภัยผ่าน SecOps เป็นการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในหมู่ลูกค้า พนักงานภายในองค์กร และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
4. ตอบสนองเร็วขึ้น - ทีม SecOps มีมุมมองแบบรวมศูนย์และครบถ้วนของโครงสร้างพื้นฐานการดำเนินงานทั้งหมดที่อัปเดตแบบเรียลไทม์จากทุกจุด ความสามารถนี้ช่วยให้องค์กรสามารถตรวจจับ ระงับ และลดผลกระทบของเหตุการณ์ใดๆ ไม่ให้ลุกลาม
5. ลด Downtime - เครื่องมือและกรอบงาน SecOps ที่ก้าวหน้า สามารถตรวจจับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้สามารถลดผลกระทบและป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ระยะเวลาการตรวจจับการโจมตีและการจัดการภัยคุกคามที่ช่วยเร็ว ช่วยให้องค์กรสามารถลดการหยุดทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญ
องค์ประกอบหลักของ Security Operations
องค์ประกอบหลัก 3 ประการของ SecOps คือ
- คน (People)
- กระบวนการ (Process)
- เทคโนโลยี (Technology)
ด้วยการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน SecOps การวางกระบวนการอย่างรอบคอบ และการนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้งาน ทีม Security Operations จึงจะสามารถยกระดับการรักษาความปลอดภัยขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์ หากขาดองค์ประกอบใดอย่างหนึ่งไป อาจส่งผลให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
นอกจากองค์ประกอบหลักทั้งสามอย่างข้างต้น ยังมีองค์ประกอบย่อย SecOps อีกหลายประการ เช่น
- Complete Visualization - การพัฒนาการมองเห็นภาพที่สมบูรณ์ของภูมิทัศน์ความปลอดภัยขององค์กร เพื่อระบุช่องโหว่และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ
- Mission-Critical Prioritization - การให้ความสำคัญกับที่สินทรัพย์สำคัญและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงก่อน จะช่วยให้องค์กรมั่นใจว่าสามารถจัดการกับภัยคุกคามที่สำคัญอย่างรวดเร็ว
- Informed Decisions - องค์กรสามารถตัดสินใจอย่างชาญฉลาดด้วยข้อมูลต่างๆ ด้วยการมอนิตอริ่งระบบอย่างต่อเนื่อง พร้อมการเข้าถึงข่าวกรองภัยคุกคามล่าสุด และการประเมินความปลอดภัยสม่ำเสมอ
- Uninterrupted Integration - การผสานรวมเครื่องมือและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยเข้ากับโครงสร้างพื้นฐาน IT ที่มีอยู่ขององค์กรอย่างราบรื่นเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยโดยรวมโดยไม่ขัดขวางการดำเนินงาน
- Utilize Automation - การใช้ระบบอัตโนมัติในงานด้านความปลอดภัยที่ซ้ำๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดจากมนุษย์
การสร้าง Security Operations ที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่กระบวนการหนึ่งวัน แต่เป็นกระบวนการที่ดำเนินต่อเนื่องซึ่งพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
เครื่องมือ SecOps
SecOps ที่ดำเนินการอย่างดีประกอบด้วยเครื่องมือหลายอย่างที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ตารางต่อไปนี้สรุปเครื่องมือสำคัญของกรอบงาน SecOps ที่ใช้งานได้จริง:
เครื่องมือ | คำอธิบาย |
---|---|
Endpoint Security | มีหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และโทรศัพท์มือถือจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคนิค Machine Learning และการวิเคราะห์พฤติกรรมขั้นสูง |
Vulnerability Management | กระบวนการสามขั้นตอนในการระบุ จัดลำดับความสำคัญ และจัดการช่องโหว่ด้านความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกนำไปใช้ประโยชน์ |
Threat Intelligence | รวบรวม วิเคราะห์ และแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นใหม่และผู้ก่อการร้ายโดยใช้กลุ่มข้อมูลภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ ช่วยให้องค์กรตัดสินใจด้านความปลอดภัยอย่างมีข้อมูล |
Network Security Monitoring | ตรวจสอบการรับส่งข้อมูลเครือข่ายและการตรวจสอบแพ็กเก็ตอย่างละเอียด เพื่อค้นหากิจกรรมที่เป็นอันตรายหรือผิดปกติ เพิ่มความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามและการตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยรวม |
Access Control Mechanisms | นำการควบคุมการเข้าถึงที่แข็งแกร่งมาใช้ เช่น การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน เครือข่าย ZTNA (Zero Trust Network Access) และการควบคุมการเข้าถึงตามบทบาท เพื่อให้มั่นใจว่ามีเพียงบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำเนินงาน |
Security Awareness Training Programs | แนะนำโปรแกรมและการสัมมนาสำหรับสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยแบบรายเดือนหรือรายไตรมาส เพื่อให้พนักงานทราบเกี่ยวกับภัยคุกคาม และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์และภัยคุกคามภายใน |
Security Information and Event Management (SIEM) | รวบรวม วิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับภัยคุกคามและเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยโดยรวมขององค์กร |
SecOps vs. DevOps vs. DevSecOps
ก่อนจะความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันระหว่าง SecOps, DevOps และ DevSecOps มาาทำความเข้าใจคำย่อสามตัวอักษรสำคัญ ดังนี้
- Dev ย่อมาจาก Development (การพัฒนา)
- Sec ย่อมาจาก Security (ความปลอดภัย)
- Ops ย่อมาจาก Operations (การดำเนินงาน)
DevOps ให้ความสำคัญกับความเร็วและประสิทธิภาพ ในขณะที่ SecOps ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ส่วน DevSecOps คือการรวมกันของทั้งสองทีม
ตารางสรุปความแตกต่างระหว่างคำทั้งสามจากมุมมองต่างๆ
มุมมอง | SecOps | DevOps | DevSecOps |
---|---|---|---|
จุดโฟกัส | ความปลอดภัย | การพัฒนาและการดำเนินงาน | ความปลอดภัย การพัฒนา และการดำเนินงาน |
เป้าหมายหลัก | เสริมสร้างความปลอดภัย | ความเร็วและประสิทธิภาพ | การส่งมอบซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ |
การผสานรวมความปลอดภัย | แยกออกจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ | ไม่ให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้น | รวมตั้งแต่เริ่มต้น |
การร่วมมือ | ทีมความปลอดภัยและ IT | ทีมพัฒนาและการดำเนินงาน | ทีมความปลอดภัย พัฒนา และการดำเนินงาน |
SecOps vs. SOC
SOC ย่อมาจาก Security Operations Center และ SecOps เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ SOC โดยในอดีต SOC จะถูกแยกออกจากส่วนอื่นขององค์กร และดำเนินงานตามหน้าที่เฉพาะของตนโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับส่วนอื่นของธุรกิจมากนัก แต่ SOC สมัยใหม่แตกต่างออกไปเนื่องจากการรักษาความปลอดภัยในองค์กรเป็นความพยายามร่วมกันของบุคลากรทุกฝ่าย
SOC ประเภทต่างๆ
- In-House SOC - ประเภทที่นักวิเคราะห์ SOC ดูแลกิจกรรมด้านความปลอดภัยจากภายในองค์กรด้วยพนักงานในสถานที่
- Out-Sourced SOC - SOC ที่จัดการโดยผู้ให้บริการความปลอดภัยภายนอกที่เสนอบริการตามความต้องการและลักษณะทางธุรกิจ
- Hybrid SOC - SOC แบบผสมรวมทีมภายในและภายนอก ซึ่งทีม SecOps ภายในสามารถขอช่วยเหลือเพิ่มเติมจาก MSSP โดยไม่ต้องจ้างพนักงานภายในเพิ่มเติม
- Virtual SOC - SOC ประเภทนี้ดำเนินงานบน AI และมาตรฐานขั้นตอนและพารามิเตอร์ความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ
แม้ SecOps และ SOC เป็นแนวคิดที่แตกต่างกัน แต่ก็เป็นส่วนเสริมและทำงานร่วมกันได้ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยขององค์กร SecOps โดยผสานรวมความปลอดภัยเข้าไปในทุกด้านของการดำเนินงานกับทีม IT ซึ่ง SOC เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจที่ดูแลการนำ Framework ด้านความปลอดภัยไปใช้และทำหน้าที่เป็นแนวป้องกันแนวหน้าต่อการโจมตีทางไซเบอร์ โดยดำเนินงานตลอดเวลา 24/7
เมื่อรวมกัน พวกเขาสามารถสร้างแนวทางที่ครอบคลุมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยไม่เพียงแต่เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แต่ยังเป็นการเฝ้าระวังและการป้องกันเชิงรุกในเวลาเดียวกัน
ความท้าทายในการนำ SecOps มาใช้
- ช่องว่างด้านความเชี่ยวชาญ - ทั่วโลกมีการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย IT ที่มีความสามารถในการดำเนินงานและใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Next-Generation Firewall (NGFW), SD-WAN เป็นต้น ความท้าทายนี้ทำให้สมาชิกทีม SecOps ที่มีอยู่ต้องอาจต้องรับภาระหน้าที่ที่มากขึ้น
- ข้อมูลและการรับส่งข้อมูลเครือข่ายขนาดใหญ่ - ข้อมูลและการรับส่งข้อมูลเครือข่ายสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ด้วยการเติบโตที่น่าทึ่งในปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดนี้แบบเรียลไทม์จึงเป็นเรื่องท้าทาย
- ความเหนื่อยล้าจากการแจ้งเตือน - SecOps และ SOC พึ่งพาเครื่องมือและระบบอัตโนมัติ ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติกับเครื่องมือและระบบเหล่านี้ ระบบอาจสร้างการแจ้งเตือนผิดพลาด (False Positive) จำนวนมากที่ยากต่อการแยกแยะจากภัยคุกคามจริง
- ภัยคุกคามที่ไม่รู้จัก - ไม่ว่าองค์กรจะลงทุนในความปลอดภัยมากเพียงใด แต่ยังคงมีภัยคุกคามที่ไม่รู้จักที่ต้องพิจารณา การโจมตีโดยใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Zero-Day สามารถเจาะการป้องกันองค์กรได้ แม้จะมีการตรวจจับตามลายเซ็นแบบดั้งเดิม รวมถึงระบบความปลอดภัย EDR และไฟร์วอลล์ (Firewall)
โซลูชัน Sangfor Security Operations (SecOps)
ในฐานะผู้ให้บริการชั้นนำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Sangfor นำเสนอโซลูชันที่ครอบคลุม 2 รูปแบบสำหรับการเสริมสร้างความสามารถของ SecOps เมื่อเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติแบบดั้งเดิม
1. โซลูชัน Sangfor Self-Managed SecOps ด้วย Cyber Command
โซลูชันนี้เสริมสร้างความปลอดภัยเครือข่ายผ่านความสามารถในการตรวจจับและตอบสนองขั้นสูง Sangfor Cyber Command เป็นโซลูชัน NDR (Network Detection and Response) ที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แบบเรียลไทม์เพื่อให้ข้อมูลบริบทเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย มอบการมองเห็นเครือข่ายแบบ End-to-End โดยการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลทั้ง North-to-South และ East-to-West โซลูชันใช้ AI และเทคโนโลยี Machine Learning ขั้นสูงเพื่อตรวจจับภัยคุกคามด้วยความแม่นยำสูง ช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยตัดสินใจอย่างมีข้อมูล ลดเวลา และความพยายามที่ใช้ในการตรวจสอบอย่างมีนัยสำคัญ
2. โซลูชัน Sangfor Cyber Guardian MDR Managed SecOps
โซลูชัน Sangfor Cyber Guardian เสนอบริการความปลอดภัยที่จัดการอย่างสมบูรณ์ที่ให้การตรวจสอบและตอบสนองต่อภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ 24/7 เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ มันส่งมอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยภายในของ Sangfor ในกรอบงานความปลอดภัยเชิงรุกและเชิงป้องกัน
โซลูชันรวมองค์ประกอบสำคัญต่อไปนี้
ประโยชน์หลักของการใช้บริการ Cyber Guardian MDR ได้แก่
- SecOps ประหยัดต้นทุน - การนำโซลูชันภายในของ Sangfor มาใช้ช่วยประหยัดต้นทุนงบประมาณ 75% เมื่อเปรียบเทียบกับการสร้าง SecOps ของคุณตั้งแต่เริ่มต้น
- หมดความกังวลด้านความปลอดภัย - ออกแบบและจัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับองค์กรที่ชอบความเรียบง่ายและต้องการให้นักวิเคราะห์ความปลอดภัยที่มีประสบการณ์จัดการรายงานและจัดการปัญหาในนามของพวกเขา
- ความเกี่ยวข้อง - เสนอการวิเคราะห์ภัยคุกคามและกลยุทธ์การตอบสนองที่ปรับแต่งให้สอดคล้องกับเป้าหมายและข้อกำหนดทางธุรกิจเฉพาะ
ค้นพบศักยภาพของ Sangfor Security Operations ผ่านบันทึก Webinar ของ Sangfor หรือติดต่อเราเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม